จากเกมส์สู่นักแข่งรถระดับโลก (ภาคต่อ)

กลับมาเจอกันอีกครั้งกับ “นักแข่งซิมจะไปแข่งรถจริงได้เหรอ” คราวที่แล้วเราได้พูดถึงเรื่องความสมจริงของเกมส์ที่สร้างมาให้เราได้เล่นกัน มันจะจริงอะไรขนาดนั้น แล้วสามารถทำให้สมจริงไปกว่านั้นอีกได้ไหม ในบล็อกนี้ผมจะมาบอกว่า มันทำให้จริงได้มากกว่านั้นอีกนะ เดี๋ยวเรามาดูกันว่าเค้าทำยังไงกันได้บ้าง และ Think of Sim สามารถช่วยคุณได้อย่างไรบ้าง

อย่างแรกเราต้องมาดูก่อนว่ารูปแบบของรถที่เราจะขับนั้น เป็นแบบไหน เช่น รถบ้าน รถสปอร์ต รถแข่ง รถดริฟท์ เพราะมีปัจจัยหลายๆอย่างที่เราต้องเข้าใจว่ารถแต่ล่ะประเภทมีศักยภาพแค่ไหนเมื่ออยู่บนสนามแข่ง เช่น ถ้าเราเอารถบ้านเรามาแข่งบนสนาม หรือแม้กระทั่งขับเร็วๆ บนถนน เราจะรู้ว่าขอบเขตที่รถเรารับได้นั้นมีแค่ไหนใช่ไหม เข้าโค้งด้วยความเร็วแค่ไหนถึงจะไม่หลุดโค้งจะได้ไม่ต้องโทรเรียกร่วมกตัญญูมาขุดออกจากรถ ในเกมส์ก็ฉันใดฉันนั้นเลย ถ้าเราขับมาอย่างเร็ว เราจะมาเบรคให้ถนนย่น (ด้วยรถบ้าน) แบบรถแข่ง GT3 หรือ F1 ยังไงก็หลุดโค้งครับ เพราะแบบนี้ในหนัง Gran Turismo จึงได้พูดถึงความกังวลว่า นักแข่งในเกมส์จะรู้เหรอว่ารถแข่งจริงมันเป็นยังไง ฉะนั้นเราต้องรู้ว่าเรากำลังขับรถประเภทใดอยู่ แล้วปรับวิธีการขับขี่ให้เหมาะกับประเภทรถนั้น

เอาล่ะ ที่กล่าวมาเมื่อครู่คือพื้นฐานที่เราต้องรู้ว่าประเภทรถที่เราขับคือแบบใด ต่อมาเราจะต้องรู้ว่าจุดวางเครื่องยนต์นั้นอยู่จุดใดของตัวรถ ถามว่าทำไมต้องรู้ เพราะจุดวางของเครื่องยนต์นั้นมีผลต่อการควบคุมการขับขี่ และ การกระจายน้ำหนักของตัวรถ ถ้าถามว่า แล้วมีแบบไหนบ้างละ หลักๆแล้ว จะมี 5 รูปแบบด้วยกัน นั่นก็คือ

1. FF (Front Engine, Front Wheel Drive) คือ เครื่องยนต์ด้านหน้ารถ แล้วขับเคลื่อนด้วยล้อหน้า

2. FR (Front Engine, Rear Wheel Drive) คือ เครื่องยนต์วางด้านหน้า ขับเคลื่อนล้อหลัง

3. RR (Rear Engine, Read Wheel Drive) คือ เครื่องยนต์วางหน้าหลัง ขับเคลื่อนล้อหลัง

4. MR (Mid Engine, Rear Wheel Drive) คือ เครื่องยนต์วางกลางรถ ขับเคลื่อนล้อหลัง

5. AWD (All Wheel Drive) คือ เครื่องยนต์วางด้านหน้า ขับเคลื่อน 4 ล้อ

Lexus LC500 (FR)

Toyota Aqua (FF)

Porsche Cayman GT4 Clubsport (RR)

ทำไมต้องมีหลายรูปแบบจัง การจัดวางของเครื่องยนต์หลายรูปแบบนี้เพื่อตอบโจทย์ที่หลากหลายเหตุผลครับ เช่น FF จะเป็นรถบ้านทั่วไปเช่น โตโยต้า ฮอนด้า เพราะต้องการควบคุมราคารถไม่ให้สูงเกินไป เนื่องจากไม่ต้องการให้มีความซับซ้อนของชิ้นส่วน แค่เอาเพลาเสียบเข้ากับเครื่องก็ขับได้แล้ว ง่ายไหมครับ แต่ถ้าเป็น FR คือ เครื่องวางด้านหน้า แต่ไปขับเคลื่อนล้อหลัง โครงสร้างเป็นเปลี่ยนไป มีเพลาตรงกลางที่เชื่อมต่อระหว่างเครื่องยนต์ด้านหน้ามีที่เพลาะหลัง เพื่อให้รถขับได้ รถ RR และ AWD ก็หลักการเดียวกัน แต่ถ้าเป็น MR ขึ้นมา อันนี้จะเริ่มเน้นไปทางประสิทธิภาพในการซิ่งซะเป็นส่วนใหญ่ ทำไมเป็นงั้นละ แบบอื่นซิ่งไม่ดีหรอ ต้องตอบว่า เดี๋ยวๆ แบบอื่นก็ซิ่งได้ แต่สิ่งที่ต่างกันคือ การกระจายน้ำหนักของรถ จำกันได้ไหมที่กล่าวไปตอนต้นว่า เครื่องยนต์วางตรงไหนล้วนมีผลต่อการกระจายน้ำหนักของรถทั้งนั้น การวางเครื่องยนต์แบบกลางลำนั้น จะทำให้แรงเหวี่ยง หรือที่เรียกว่า G-Force นั้นคงที่มากที่สุด เพราะรถนั้นต้องสามารถทำได้ทั้งวิ่งตรงและเข้าโค้งถูกไหม รถที่เป็น MR ที่ดังๆ มีอะไรบ้างละ เช่น McLaren 720S Acura NSX Ferrari 296 GTB

Mclaren 720s Spider (MR)

ปวดหัวกันหรือยัง งั้นเราไปปวดหัวกันต่อ ฮ่าๆ คำถามต่อมา แล้วรูปแบบการจัดวางของเครื่องมันส่งผลยังไงต่อการขับขี่ล่ะ ตอบคือ มีเยอะเลยล่ะครับ ขอเริ่มที่ FF ก่อนก็แล้วกัน การวางเครื่องยนต์ด้านหน้าแล้วยังจะให้ขับเคลื่อนรถอีก ทำให้รถประเภท FF นี้ มีโอกาสที่จะเข้าโค้งแบบ Understeer (การดื้อโค้ง) ถ้าพูดง่ายๆคือ เราจะเลี้ยวโค้ง แต่รถเราเข้าโค้งวงกว้างกว่าที่เราอยากจะให้เป็น เพราะอะไร ก็เพราะน้ำหนักของเครื่องยนต์ที่โดนแรงเหวี่ยง (G-Force) โยนออกนอกโค้ง แต่ยางยังพอมีแรงเกาะให้อยู่ในโค้งบ้าง แต่ก็ยังเกินกำลังอยู่ดี ทำให้รถตีโค้งกว้างกว่า จึงทำให้เราต้องปรับการขับขี่ของเราให้เป็นอีกแบบนึง กลับกับ รถจัดวางแบบ FR คือ วางเครื่องยนต์หน้า แต่ขับเคลื่อนล้อหลัง คราวนี้ละ ล้อหน้าจะจิกเข้าโค้งละ หรือที่เรียกว่า Oversteer คือการที่หน้ารถเข้าโค้งมากเกินไป ถามว่า ทำไมล่ะ อันนี้ก็เกินไปอีก เพราะว่าล้อหลังนั่นเอง เมื่อแรงขับอยู่ตรงไหน ส่วนนั้นย่อมขยับมากที่สุด ทำให้เมื่อรถ FR เลี้ยวโค้งแล้วหักพวกมาลัยเยอะเกินไป แล้วยังเหยียบคันเร่งอยู่ ผลคือ ท้ายรถปัดออก แต่เข้าโค้งได้แม่นยำขึ้น

แต่เอ เมื่อกี้บอกว่า MR คือรถที่เน้นประสิทธิภาพ โดยน้ำหนักเครื่องวางกลางลำตัวรถ ต้องดีที่สุดสิ คำตอบ ก็ไม่เสมอไปครับ เราต้องไปดูปัจจัยอื่นๆอีก การที่มีเครื่องยนต์อยู่ตรงกลางตัวรถ แล้วยังขับเคลื่อนล้อหลังมีข้อเสียอะไรอีกไหม นอกเหนือจากพื้นที่เก็บของน้อยลง และยังอยู่แค่ที่ฝากระโปรงหน้าอีก นั่นก็การตอบสนองของเครื่องยนต์ครับ เมื่อเครื่องอยู่ใกล้ล้อ ทำให้แรงบิดนั้นศูนย์เสียกำลังน้อย แต่ถ้าเราควบคุมคันเร่งไม่ดี แล้วดันเหยียบหนักเกินไปตอนเข้าโค้ง หรือ ออกตัว ผลคือล้อฟรีได้ง่ายครับ ฉะนั้น ทั้งหมดนี้ ขึ้นอยู่กับสไตล์การขับขี่ของคนขับว่าเป็นคนขับแบบไหน เพราะหลายๆปัจจัยที่กล่าวมา และด้านอื่นๆจะทำให้ขักแข่งรู้และควบคุมอาการรถได้อย่างง่ายดายครับ

 

เอาล่ะ ที่เว่ามาทั้งหมดนี่ มันก็ทั่วไปในโลกแห่งความเป็นจริงนะ และในโลกแห่งเกมส์ละ เราจะสัมผัสความรู้สึกแบบนี้ได้ยังไง ตอบเลยว่า ได้ครับ ปัจจุบันมีอุปกรณ์มากมายสุดที่ใจจะไขว่ขว้ามาเพื่อช่วยสร้างความสมจริงให้กับเกมส์แข่งรถที่เราเล่น ยกตัวอย่างเช่น Wheelbase หรือ ฐานพวกมาลัยขับรถอย่าง Simucube, Fanatec, Simagic และอื่นๆ มีระบบที่เรียกว่า Force Feedback คือ การใช้แรงบิดโดยมอเตอร์เพื่อสร้างความเสมือนเวลาเราขับรถแล้วพวงมาลัยจะตึงมือขึ้นเวลาเราเข้าโค้ง ไถลโค้ง หรือ หลุดโค้ง โดยทั้งหมดนี้มีราคาที่ต่างกัน ขึ้นอยู่กับจำนวนแรงบิดที่เราชอบ เรียกว่า Nm (นิวตั้น) เบื้องต้นถ้ายังไม่ได้เคยลองเล่น แต่อยากรู้ว่า แรงบิด 5nm นั้นเป็นอย่างไร ให้หาอะไรที่มีน้ำหนัก 500 กรัม มาหมุนกับพวงมาลัยดูครับ แรกๆก็ไม่เท่าไหร่ ลองหมุนไปมา เร็วบ้างช้าบ้างสัก 30 นาทีดูครับ นั่งอยู่กับที่ก็เหงื่อออกได้นะบอกเลย ฮ่าาาา อยากกระซิบบอกว่า ตอนนี้ Force Feedback มากสุดในตลาดอยู่ที่ 25Nm ครับ เอาล่ะ พวงมาลัยไปแล้ว มีอะไรอีก ต่อไปก็แป้นเบรคครับ มีหลายระบบเลยล่ะ ยกตัวอย่างคือ Potentiometer ใช้วิธีจากการวัดระยะการเคลื่อนที่ของแป้น ต่อมาคือ Load Cell เป็นระบบที่ใช้การวัดแรงดันของการเหยียบแป้นเบรค ที่ใกล้เคียงรถจริงตอนนี้คือแบบ Hydraulic ระบบไฮโดรลิคส์เต็มรูปแบบ ใช้น้ำมันจริง เปื้อนจริงถ้าไม่ระวังตอนเปลี่ยน ถามว่า ทำไมต้องมีหลายระบบ ต้องบอกว่า ร่างกายมนุษย์นั้นใช้การจำจากการทำอะไรซ้ำๆเป็นส่วนใหญ่เพื่อสร้างความสม่ำเสมอ นั่นคือ เราจะจำน้ำหนักแรงกดแป้นเบรคของเราได้เวลาเราจะเข้าโค้งว่า ต้องกดเท่าไหร่กับระยะที่เรามีเพื่อเข้าโค้งได้เร็วที่สุดแล้วไม่หลุดโค้งนั่นเอง

ระบบเบรคแบบไฮดรอลิคส์จากแบรนด์ Simagic

หลังจากนี้จะเริ่มเข้าอุปกรณ์ที่เรียกว่าหรูหราหมาเห่าละ เพราะมีราคาสูง แต่มันเสริมความสมจริงนะ น่าสนไหม นั่นก็คือระบบ Motion Sim หรือ เครื่องที่จะโยกค็อกพิทของเราตามอาการของรถนั่นเอง ระบบนี้มีตั้งแต่หลักเกือบแสน ถึงครึ่งล้านบาท! จอมอนิเตอร์ของเรานั้นสามารถจัดสเปคได้ตั้งแต่ จอเดียว ไปจนถึง 3 จอ แต่ก็ดูไม่มีอะไรแปลกใช่ไหมครับ แล้วถ้าผมบอกว่า ขนาดจอสามารถใช้ได้ถึง 55นิ้ว ทั้ง 3 จอละ แทบจะเหมือนไปนั่งอยู่ในรถแข่งจริงๆแล้วนะ

อยากจะบอกว่า Think of Sim สามารถยกทั้งระบบที่ว่ามานี้ไปตั้งอยู่ที่บ้านท่านได้แล้ววันนี้ พร้อมติดตั้ง และเก็บสายให้เสร็จสรรพแบบคลีนๆเลย อยากได้สเป็คแบบไหนขอให้บอกเพราะไม่มีอะไรแพงเกินไป ถ้าใจมันรักถูกไหมครับ

 

เอาล่ะ บล็อกวันนี้เนื้อหาจะแน่นๆ หน่อย แต่อยากจะบอกว่าปัจจุบันนี้ เรามีเครื่องมือมากมายที่จะช่วยให้เราขับรถได้เร็วอย่างที่ใจต้องการ ภายในความปลอดภัยของรั้วบ้านเราครับ

 

แล้วเราเจอกันในบล็อกหน้า จะเป็นเรื่องอะไรนั้น เดี๋ยวขอไปคิดก่อน เอ้ย เดี๋ยวมาดูกัน

 

         Thonji

- Eyes on the apex -

Back to blog